ตั้งราคาสินค้ายังไงให้ไม่ขาดทุน แถมยังถูกใจเหล่านักช็อป
เมื่อเราเริ่มการทำธุรกิจค้าขายไม่ว่าจะออนไลน์หรือออฟไลน์ก็ตาม ผู้คนมักจะคำถึงว่าขายอะไรดี จะขายสิ่งเราที่ชอบดีมั๊ย หรือขายสิ่งที่เราใช้แล้วเราคิดว่ามันดีที่สุด
หรือว่าจะขายสิ่งที่เขาอยากซื้อดี ทุกๆอย่างล้วนต้องมีแหล่งสินค้าที่ราคาถูกเพื่อลดต้นทุนเสมอ คุณภาพต้องดีกว่าเจ้าอื่นๆ หรือดีปานกลางสำหรับตลาดนั้นๆ
ก็ยังสามารถเลือกสรรค์ได้ตามสะดวก แต่คนส่วนใหญ่ต้องมาตกม้าตายในเรื่องของการตั้งราคาสินค้า จะขายเท่าไรดี หากตั้งราคาสูงไปคนจะกล้าซื้อมั๊ยนะ
หรือตั้งราคาต่ำไป เราจะขาดทุนหรือเปล่า โดยการตั้งราคาให้ถูกใจนักช็อป และดึงดูดให้เขาต้องการที่จะซื้อสินค้าเราซ้ำเนี่ย ง่ายมาก
หากคุณต้องการให้ร้านของคุณขายดี คุณจำเป็นต้องมีกลยุทธ์และเทคนิคการขายสักหน่อย โดยจะแนะนำการตั้งราคาสินค้าให้เป็นเบื้องต้นละกัน
สูตรการตั้งราคาขายสินค้าให้ไม่ขาดทุน
” อยากตั้งราคาขายสินค้าให้ดี ไม่ใช่เพียงแค่เราคำนึงถึงมูลค่าของต้นทุนสินค้าเพียงอย่างเดียว เราต้องคำนึงถึง ค่าแรง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอุปกรณ์ ค่าขนส่ง และค่าสถานที่อีกด้วย
สูตรการคำนวณการตั้งราคาขายสินค้า
” ราคาขายสินค้า = ต้นทุน + กำไรที่ต้องการ “
สูตร 1 ตั้งราคาจากต้นทุนของสินค้า (Markup on Cost)
ราคาขาย = ต้นทุนทั้งหมดต่อชิ้น + (%กำไรที่ต้องการ x ต้นทุน)
วิธีคำนวณ: ต้นทุนต่อชิ้น = 100 ต้องการขายให้ได้กำไร 15%
ราคาขายต่อชิ้น = 100 + (15% x 100) = 115 บาท
สูตร 2 ตั้งราคาจากราคาขายของสินค้า (Markup on Selling Price)
ราคาขาย = 100 x ต้นทุนต่อชิ้น / (100 – กำไรที่ต้องการ)
วิธีคำนวณ: ต้นทุนต่อชิ้น = 100 กำไรที่ต้องการ 15%
ราคาขายต่อชิ้น = 100 x 100 / (100 – 15) = 118 บาท
ขอบคุณความรู้ : thestreetratchada
ในส่วนของธุรกิจที่อยู่ส่วนของออนไลน์จะมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น จนทำให้ผู้คนหันเข้ามาจับจ่ายใช้สอยในโลกออนไลน์สะเยอะกว่าธุรกิจออฟไลน์อย่างมาก ทำให้เกิดผู้ค้าหน้าใหม่ผุดขึ้นมามากหน้าหลายตาเหลือเกิน
หากต้องการทำการตลาดออนไลน์แล้ว จึงจำเป็นต้องวางแบบแผนให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ธุรกิจของเราเป็นไปได้อย่างไม่ขัดตกบกพร่องแต่อย่างใด หรือเกิดปัญหาต่างๆนา ฉะนั้น อย่าลืมให้ความสำคัญกับปัจจัยต่างๆที่นอกเหนือจากการตั้งราคาด้วยล่ะ ดังนี้
ต้นทุน
ต้นทุน คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด เพื่อก่อให้เกิดสินค้าและบริการ ดังนั้น เราจำเป็นต้องมีความรู้ในด้านการจัดการต้นทุนให้เป็นอย่างดี เพราะการมีความรู้ด้านต้นทุน จะเป็นพื้นฐานของผู้ที่ประกอบกิจการควรจะมี เพื่อบริหาร และควบคุมต้นทุนให้ได้ต่ำมากที่สุด
กลยุทธ์ทางธุรกิจ
กลยุทธ์ทางธุรกิจเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญมากๆสำหรับธุรกิจออนไลน์ เพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยการตั้งราคาสินค้าก็ถือว่าเป็น กลยุทธ์ทางธุรกิจแขนงหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งราคาให้โดนใจผู้ซื้อ หรืออาจจะเป็นการตั้งราคาของสินค้าสร้างคุณค่า และที่สำคัญต้องไม่กระทบกับกำไรขององค์กร
ตั้งราคาตามคู่แข่งในตลาด (Competitive pricing)
การที่เราจะตั้งราคาตามคู่แข่งได้นั้น สินค้าที่เรากำลังขายอยู่ ต้องมีความคล้ายคลึงกันกับสินค้าของคู่แข่ง การตั้งราคาตามคู่แข่งในตลาด จะเป็นการตั้งราคาให้เท่ากับคู่แข่ง หรือต่ำกว่าคู่แข่ง
ตั้งราคาแบบประหยัด (Economy pricing)
การตั้งราคาแบบประหยัดถือเป็นกลยุทธ์ที่หลายๆองค์กรใช้เป็นอย่างมาก การตั้งราคาแบบหยัดจะเป็นการ ลดกำไรให้น้อยลง สงสัยล่ะสิแล้วมันดียังไง เราเพียงแค่ลดกำไรให้น้อยลง เพื่อเพิ่มจำนวนการขายให้ได้มากขึ้น จะเหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ หากธุรกิจของคุณยังเป็นขนาดเล็กอยู่อย่าใช้เด็ดขาด
ตั้งราคาแบบจับคู่สินค้าลดราคา (Bundle pricing)
การตั้งราคาแบบจับคู่สินค้าลดราคาเนี่ยยอดนิยมแทบจะเป็นอันดับหนึ่งของการขายสินค้าที่ขายไม่ออกได้เป็นอย่างดีเลยแหละ โดยการนำสินค้ามาจัดเป็นคู่และหรือเป็นเซ็ตนำมาลดราคา ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ขายของได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
ตั้งราคาแบบสูงกว่าตลาด (Premium pricing)
การตั้งราคาให้สูงกว่าตลาดนั้น คุณต้องมั่นใจก่อนว่าสินค้าหรือคู่แข่งของคุณเองประสิทธิภาพหรือมีคุณภาพที่เทียบเท่า หรือมากกว่าสินค้าหรือบริการคู่แข่ง และสินค้าหรือบริการจำเป็นต้องมีราคาอยู่เหมือนกัน
การตั้งราคาให้สูงกว่าตลาดนั้นคุณต้องคำนึงถึงผู้ซื้อด้วยว่าเขาจะได้รับอะไรบ้างหากว่าเขาต้องควักเงินเพิ่มเพื่อจ่ายสินค้าหรือบริการของเรา ไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์ของแบรนด์ คุณภาพ หรือไม่ว่าจะเป็นบริการหลังการขายก็ตาม
ต่อมาก็จะเป็นการตั้งราคาให้โดนใจนักช็อปทั้งหลาย โดยการที่เราจะตั้งราคาเนี่ย เราต้องเตรียมตัวรับมือกับการแข่งขันทางการตลาดอีกด้วย โดยจะเป็นการตั้งราคาดังนี้
ไม่ตั้งราคาถูกจนเกินไป มันจะทำลายความน่าเชื่อถือของร้านของคุณได้ ถึงแม้มันจะทำให้ดึงดูดนักช็อปมากแค่ไหนก็ตาม ตั้งราคาแยกกับค่าส่ง หากขายในแพลตฟอร์ม Shopee หรือ Lazada
เพราะจะเกิดการเปรียบเทียบสำหรับราคาเพียงอย่างเดียว ในส่วนเว็บไซต์ขายของส่วนตัว สามารถบวกค่าส่งไปในสินค้าได้เลย
จัดโปรโมชั่นให้น่าสนใจ การจัดโปรโมชั่นทำให้ผู้ซื้อสนใจในตัวสินค้าหรือบริการมากขึ้น โดยสินค้าที่ตั้งควรเผื่อโปรโมชั่นเหล่านี้ด้วย ป้องกันการขาดทุนเวลาจัดโปรโมชั่น