ขายให้ลูกค้ากลับมาซื้ออีกครั้ง

ขายยังไงให้ลูกค้าหันกลับมาซื้ออีกครั้ง

ถ้าหากว่าธุรกิจของคุณเนี่ย เป็นธุรกิจที่ขายสินค้าที่ใช้แล้วหมดไป คุณจำเป็นต้องหาแรงบันดาลใจยังไงก็ได้ให้ลูกค้าของคุณ กลับมาซื้อสินค้าของคุณอีกครั้ง

ไม่ว่าจะด้วยโปรโมชั่นต่างๆ หรือจะเป็นการได้รับของรางวัลเมื่อเขามียอดซื้อครบจำนวนเท่านั้นเท่านี้ หากธุรกิจคุณต้องการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว และสร้างความแตกต่างจากธุรกิจคู่แข่ง นี่เป็นทางเลือกอีกหนึ่งวิธีเลยแหละ

ทั้งนี้เราจะมาพูดถึง Loyalty program หรือการใช้ของรางวัลหรือข้อเสนอต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการกระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำจากธุรกิจของคุณ แทนที่จะเลือกซื้อสินค้าจากของคู่แข่ง โดย Loyalty program จะมีหลากหลายวิธีมาก

บริการ

ประโยชน์ของการนำ Loyalty program มาใช้

  • สร้างยอดขาย
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า
  • กระตุ้นการบอกต่อ
  • เพิ่มความพึงพอใจให้สินค้าและบริการของคุณ
  • เพิ่มยอดซื้อซ้ำจากลูกค้าของคุณ

10 ตัวอย่างของแต่ละแบบของ Loyalty Program

ไม่ว่าจะเป็นการให้รางวัลหรือข้อเสนอแบบไหน ส่วนใหญ่แล้วเป้าหมายของการทำ Loyalty Program คือการสร้างรายได้กับลูกค้าเก่าในระยะยาว แต่การทำ Loyalty Program แต่ละแบบทำงานไม่เหมือนกัน

สะสมแต้ม

สะสมแต้ม (Points programs)

ยกตัวอย่าง การสะสมแต้มของเอสซีเอ็น สกรีนนิง ซึ่งเมื่อลูกค้าใช้จ่ายตามยอดที่กำหนดจะได้แต้มมาสะสม เมื่อแต้มครบจำนวนที่กำหนดแล้ว สามารถใช้แลกแก้วที่ลูกค้าใช้เป็นประจำ 1 ลัง

ถ้าให้มองไปที่ตัวสินค้าแล้ว แก้วสกรีนอาจจะไม่สามารถแยกสิ่งที่จะแตกต่างกันได้มากนัก การนำโปรแกรมนี้มาใช้ก็จะช่วยให้ลูกค้ามองหาแต่แบรนด์เราเท่านั้นเพื่อสะสมแต้มแลกแก้วฟรีต่อไป

แบ่งระดับขั้น

แบ่งระดับขั้น (Tier-based programs)

ยกตัวอย่าง AIS เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ที่แบ่งประเภทลูกค้าจากระยะเวลาการใช้งาน(เป็นลูกค้ามานานแค่ไหน) และยอดการใช้จ่ายแต่ละเดือน ซึ่งลูกค้าที่อยู่มานาน หรือยอดใช้จ่ายสูง ก็จะถูกจัดอยู่ในระดับที่สูงขึ้น

ในแต่ละดับนั้นก็จะได้สิทธิพิเศษไม่เหมือนกัน ยิ่งระดับสูงก็จะยิ่งได้สิทธิพิเศษมาก สิ่งนี้ทำให้ลูกค้าเลือกที่จะอยู่กับแบรนด์ เนื่องจากไม่อยากย้ายไปค่ายอื่น ที่ทำให้เสียสิทธิพิเศษต่าง ๆ และต้องไปสะสมระยะเวลาการเป็นลูกค้าเพื่อจะได้รับสิทธิพิเศษ

ตั้งเป้าหมาย (Mission-driven programs)

ถ้าธุรกิจคุณมีเป้าหมายทางสังคมที่ชัดเจน ลองดูตัวอย่างจาก เอสซีเอ็น สกรีนนิง ที่เป็นโรงงานสกรีนแก้วกาแฟ หากมีแก้วใดชำรุดเสียหาย ทางโรงงานจะรับเคลมสินค้าเพื่อนำแก้วที่ชำรุดเสียหายไปเพาะเลี้ยงต้นกล้า

ทำให้แก้วที่ชำรุดเสียหายทุกใบให้มีคุณค่า ช่วยให้กลุ่มลูกค้าที่ให้คุณค่ากับโลก สิ่งแวดล้อม และสังคมหันมาช่วยอุดหนุนสินค้าของทางแบรนด์อยู่เรื่อย ๆ

สิทธิพิเศษ

ยอดใช้จ่าย (Spend-based programs)

ตัวอย่างสายการบิน Azerbaijan Airlines ที่มอบสิทธิพิเศษต่าง ๆ ให้กับลูกค้าที่ใช้จ่ายถึงยอดที่กำหนด ในเวลาอันสั้น เพื่อแลกกับการใช้บริการต่าง ๆ ของสายการบิน

เล่นเกม

เล่นเกม (Gaming programs)

ยกตัวอย่าง shopee ที่ใช้แอปพลิเคชันของตัวเองในการกระตุ้นให้ลูกค้าทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตัวเองกำหนด เช่น การเล่นเกมผ่านแอพ หรือดูไลฟ์สดในแอพ ซึ่งการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่เขากำหนดนั้น

ตัวลูกค้าก็จะได้สิ่งตอบแทนเป็นคูปองส่วนลด เพื่อนำไปลดราคาสินค้าที่ลูกค้าต้องการซื้อ สิ่งเหล่านี้ช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับทางแบรนด์มากขึ้น

คูปองส่วนลด

ใช้จ่ายต่อเนื่อง (Subscription programs)

ตัวอย่างแบรนด์ เอสซีเอ็น สกรีนนิง ที่ให้ลูกค้าสั่งแก้วสกรีนโดยการสั่งเพียงครั้งเดียว แต่ทางโรงงานจะจัดส่งคูปองให้ทุกครั้ง เพื่อให้ลูกค้าได้กลับมาใช้คูปองส่วนลด 100 ในทุกๆบิล

ชุมชน

ตั้งชุมชน (Community programs)

ยกตัวอย่างแบรนด์ Sephora เมื่อลูกค้าซื้อสินค้า ลูกค้าจะมีสิทธิ์เข้าร่วมชุมชน ทางแบรนด์ Sephora นั้นจำหน่ายเครื่องสำอาง ดังนั้นชุมชนก็จะเป็นกลุ่มสาว ๆ ที่คอยแบ่งปันเทคนิคการแต่งหน้าต่าง ๆ

เมื่อพวกเขาได้อยู่ในชุมชนที่แบรนด์สร้างขึ้นแล้ว เขาก็จะมีประสบการณ์เชิงบวกกับทางแบรนด์ซึ่งทำให้ครั้งต่อ ๆ ไปนั้นเกิดการซื้อสินค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น

แนะนำเพื่อน

บอกต่อ (Refer a friend programs)

ตัวอย่าง tiktok คุณสามารถแนะนำเพื่อน ๆ มาใช้งานได้ โดยสิ่งที่คุณจะได้รับเป็นการตอบแทนนั้นก็คือเหรียญในการส่งของขวัญให้คนที่ไลฟ์สดใน tiktok ได้ หรือสามารถถอนเป็นเงินสดเพื่อนำมาใช้สอยได้ นั่นทำให้คุณได้ใช้งานได้มากขึ้นและนานขึ้น ทาง tiktok ก็จะได้ลูกค้าใหม่ ซึ่งลูกค้าและแบรนด์เองก็ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย

จ่ายเพื่อดีขึ้น

จ่ายค่าสมาชิก (Paid programs)

ยกตัวอย่าง Youtube โดยปกติแล้วถ้าคุณดูวีดีโอบน Youtube คุณก็จะต้องรอโฆษณาบน Youtube ที่ขึ้น แต่ถ้าคุณยอมจ่ายค่าสมาชิก Youtube Premium ประมาณ 200 บาท/เดือน

คุณจะได้สิทธิประโยชน์โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องมีโฆษณามารบกวนคุณอีกต่อไป และคุณจะสามารถดาวน์โหลดวีดีโอในคุณภาพที่สูงขึ้นได้

เงินคืน

เงินคืน (Cashback programs)

ยกตัวอย่างบัตรเครติดแต่ละธนาคาร เวลาคุณใช้จ่ายถึงยอดที่กำหนดแล้ว ธนาคารก็จะให้เงินคืนตามจำนวนที่กำหมด ส่วนนี้ก็จะกระตุ้นให้คนใช้จ่ายมากขึ้น เมื่อใช้จ่ายมากขึ้นธนาคารก็จะมีโอกาสที่จะได้ดอกเบี้ยจากเงินที่คงค้าง

Shopping Cart